คณะบริหารธุรกิจ มทร.อีสาน จัดประชุมรายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2565

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 คณะบริหารธุรกิจ มทร.อีสาน จัดประชุมรายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2565 ณ ห้องประชุมสาธร 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น สุรินทร์ สกลนคร และร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยมีคณะผู้บริหารจาก มทร.อีสาน รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต กฤตาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนานวัตกรรม และบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนก เจริญภักดี รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชิต คำภาหล้า คณบดีคณะระบบรางและการขนส่ง อาจารย์ ดร.อนิรุธ พิพัฒน์ประภา คณบดีคณะบริหารธุรกิจ คณาจารย์จากคณะบริหารธุรกิจ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการด้านพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไชยยันต์ ชนะพรมมา และเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เข้าร่วมประชุม ซึ่งได้มีการนำเสนอศักยภาพของศูนย์ความเป็นเลิศของ มทร.อีสาน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต กฤตาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนานวัตกรรม และบริการวิชาการ และมีการรายงานความก้าวหน้าโครงการการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน รอบ 12 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2565

จากนั้นเป็นการลงพื้นที่เพื่อดูงานในคณะระบบรางและการขนส่ง นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชิต คำภาหล้า คณบดีคณะระบบรางและการขนส่ง อาจารย์ภานุมาส เรืองทิพย์ และอาจารย์ ดร.มติ นรารมย์ นำเยี่ยมชม ห้องปฏิบัติการระบบราง ห้องจำลองการบิน ห้องจำลองการขับรถไฟ และห้องซ่อมบำรุงอากาศยาน

สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ประกอบด้วย มิติด้านการเงิน ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคนิค ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการตลาด และความคุ้มค่าในการลงทุนการ ในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยฯ ที่สามารถตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม New S-Cave และกำลังคนของประเทศ ประกอบด้วยมิติด้านการเงิน ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคนิค ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการตลาด และความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งประกอบด้วย 6 ศูนย์ความเป็นเลิศ ได้แก่ 1) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนากำลังคนเพื่อการซ่อมแซมและบำรุงรักษาที่มีทักษะสูงสำหรับรถไฟความเร็วสูง ศูนย์กลางนครราชสีมา 2) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและผลิตกำลังคนด้านอุตสาหกรรมการบิน ศูนย์กลางนครราชสีมา 3) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการยกระดับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อขับเคลื่อนขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์และกลุ่มนครชัยบุรินทร์ วิทยาเขตสุรินทร์ 4) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโครงการการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศนักวิชาชีพเชี่ยวชาญสูง (Thai-Meister) วิทยาเขตขอนแก่น 5) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโครงการศูนย์ความเป็นเลิศด้านอาหารปลอดภัยและสุขภาพ “Center of excellence for Food Security and Health” วิทยาเขตสกลนคร และ 6) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้

ชลธร นาคดิลก: ข่าว
อติโรจน์ วงษ์วัชรศักดิ์: เรียงเรียงข่าว/ภาพ

Share This Story, Choose Your Platform!

หมวดหมู่

Recent Posts