เกี่ยวกับคณะบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เดิมมีชื่อว่า “วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา” เป็น สถาบันอาชีวศึกษาและช่างเทคนิคขั้นสูง ประเภทสหศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 โดยมีหลักสูตรของการศึกษา สำหรับระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง (ปวส.) อยู่ 3 แผนกวิชา คือแผนกวิชาการบัญชี แผนกวิชาเลขานุการ และแผนกวิชาช่างก่อสร้าง โดยวิทยาลัย ฯ อยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองนครราชสีมา ประมาณ 3 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 300 ไร่

วิทยาเขตฯ เริ่มดำเนินการเรียนการสอนวันแรก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2499 โดยใช้อาคารไม้ของโรงเรียนการช่างนครราชสีมา เป็นที่เรียน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารหลังแรก (คณะวิชาบริหารธุรกิจ ปัจจุบัน มีอาคารใหม่ 9 ชั้นขึ้นมาแทน) โดยมี ฯพณฯ พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นเป็นประธาน นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2500 เป็นต้นมา วิทยาเขตฯ ได้ขยายตัวทั้งด้านอาคารเรียน สถานที่วัสดุ-ครุภัณฑ์ บุคลากร และได้ขยายการศึกษาโดยเปิดแผนกวิชา และระดับการศึกษาเพิ่มขึ้น เป็นลำดับดังนี้

  • 2505 ขยายแผนกวิชาบัญชี และแผนกวิชาเลขานุการ ถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยเรียกว่า คณะวิชาบริหารธุรกิจเปลี่ยนระบบการ เรียนแบบ 3 ภาคเรียน มาเป็นแบบ 2 ภาคเรียน
  • 2506 เปิดรับสมัครนักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษา ม.ศ. 5 เข้าเรียนแผนกบัญชี
  • 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จ ฯ ณ วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
  • 2519 เปิดแผนกวิชาการเงินการธนาคาร
  • 2523 เปิดแผนกวิชาการตลาด ทั้งรอบเช้าและรอบบ่าย
  • 2526 เปิดแผนกบัญชี หลักสูตร 5 ปี ภาคปกติ 2 ห้องเรียน
  • 2529 เปิดสอนระดับปริญาตรีสาขาวิชาบริหารธุรกิจบัญฑิต (บัญชี)
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาว่า “ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ” และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระราชสัญจกรประจำพระองค์และพระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องหมายราชการของสถาบันฯ
  • 2537 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • 2537 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการ ภาคสมทบ
  • 2540 เปิดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตร 3 ปี แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • 2543 เปิดสอนระดับปริญญาตรี ภาควิชาการตลาด (ภาคสมทบ)
  • 2544 เปิดสอนระดับปริญญาตรี เรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์ 3 สาขาได้แก่สาขาการบัญชี สาขาการจัดการทั่วไป และสาขาการจัดการอุตสาหกรรม
  • 2545 เปิดสอนระดับปริญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกการตลาด รับวุฒิ ปวช. บริหารธุรกิจและ ม.6 หลักสูตร 2 ปีครึ่ง วิชาเอกระบบสารสนเทศ และวิชาเอกการเงิน รับวุฒิ ปวส. และหลักสูตร 4 ปี วิชาเอกการจัดการ สาขาการจัดการทั่วไป และสาขาการจัดการอุตสาหกรรม รับวุฒิ ปวช. ทุกสาขาวิชา และ ม.6
  • 2546 เปิดสอนระดับปริญาตรี หลักสูตร 2 ปีครึ่ง วิชาเอกระบบสารสนเทศ (ภาคสมทบ)
  • 8 มกราคม พ.ศ. 2548  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 122 ตอนที่ 6 ก วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลให้เกิดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานประกอบด้วย 5 วิทยาเขต กระจายอยู่ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

คณะบริหารธุรกิจ เป็นผู้นำในการสร้างและพัฒนาบัณฑิตที่มีความเป็นมืออาชีพด้านบริหารธุรกิจของประเทศและเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ

  1. ด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับมนระดับชาติและนานาชาติ
  2. ด้านการวิจัย ยกระดับงานวิจัยด้านบริหารธุรกิจขึ้นสู่ระดับสากล ด้วยการบูรณาการข้ามศาสตร์
  3. ด้านการบริการวิชาการ ผสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรร่วมกัน

B.A. = Business Administration Faculty คณะบริหารธุรกิจ

T = Teamwork การทำงานเป็นทีม
E = Entrepreneur ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ต่อยอดสิ่งใหม่ให้เป็นที่ยอมรับ
A = Accountability ความรับผิดชอบ
M = Morality and Integrity การมีศีลธรรม และความซื่อสัตย์
M = Mastery ความเป็นมืออาชีพที่มีการสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ
A = Accomplishment การทำงานที่ทุกคนมุ่งผลสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
N = Nurturing การเอาใจใส่ และให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับสู่การพัฒนาในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง
I = Internationalization ความเป็นนานาชาติ
A = Agility and Resilience ความคล่องตัว และความสามารถในการฟื้นตัว

หมายเหตุ B.A. I am ten = ค่านิยมของคณะบริหารธุรกิจมี 10 ประการ

เป็นคณะฯ ที่มีการขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและมูลค่าเพิ่มด้านวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ ในศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ